เตือนภัยลูกหลาน! เฝ้าระวังมิจฉาชีพมุ่งเป้าเข้าหาผู้สูงอายุ
ตำรวจสอบสวนกลาง ออกมาเตือนภัยผ่านเฟซบุ๊ก หลังพบผู้สูงอายุและข้าราชการวัยเกษียณจำนวนมาก ตกเป็นเป้าหมายของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยอาศัยกลอุบายต่าง ๆ เพื่อหลอกเอาเงิน อาทิเช่น แอบอ้างเป็นประกันสังคม หลอกเอาเงินบำเน็จ-บำนาญ และแอบอ้างเป็นสรรพกร เป็นต้น ซึ่งเหยื่อที่หลงเชื่ออาจสูญเสียทรัพย์สินตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักล้าน บางรายถึงขั้นสูญเงินที่เก็บมาทั้งชีวิต
ตำรวจสอบสวนกลางได้ระบุว่า ตามหลักจิตวิทยาผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้มีพฤติกรรมหงุดหงิดง่าย ดื้อ เอาแต่ใจ และไม่ยอมรับฟังผู้อื่น ผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและเรื่องความทรงจำ รวมไปถึงสูญเสียการได้ยินและการมองเห็นและสติสัมปชัญญะที่เสื่อมถอยไปตามอายุด้วย สิ่งดังกล่าวนี้ได้กลายมาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่รู้ตัวว่ากำลังโดนหลอกและบางครั้งก็ดื้อรั้นไม่เชื่อฟังคำเตือนจากลูกหลาน
สิ่งเหล่านี้เอง ทำให้มิจฉาชีพเล็งเห็นว่าสามารถนำมาเป็นกลอุบายเพื่อหลอกหรือชักจูงได้ และด้วยผู้สูงอายุบางคนมีฐานะร่ำรวยมีเงินเก็บเยอะหรือเคยเป็นข้าราชการมาก่อน ทำให้มีเงินบำเน็จ-บำนาญ มิจฉาชีพจึงพยายามพุ่งเป้าไปที่ผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะใช้เทคนิคทางจิตวิทยาการโน้มน้าว 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การอ้างอำนาจ (authority) และการกดดันโดยการจำกัดเวลาหรือจำนวนรางวัลตอบแทน (scarcity) เป็นการกระทำที่ทำให้เหยื่อรู้สึกเชื่อใจและไว้ใจ ใช้การโน้มน้าวทางอารมณ์มากกว่าเหตุผล เช่น จงใจจำกัดระยะเวลา ทำให้เหยื่อเร่งรีบโอนเงินเพื่อจะได้รับผลตอบแทนที่ล่อตาล่อใจ และหลงเชื่อว่าตนจะได้รับผลตอบแทนตามที่ผู้หลอกลวงสัญญาไว้ ซึ่งไม่ได้เสียแค่เงินทองเท่านั้น บางคนต้องเสียเงินที่เก็บมาทั้งชีวิต
ทางตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงออกขอแนะนำ 6 ข้อที่ป้องกันผู้สูงวัยจากมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ โดยสามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้
1. อย่าเพิ่งรีบเชื่อในทันที ควรใช้เหตุและผลไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งที่กำลังเจอเป็นเรื่องจริงหรือไม่
2. เปรียบเทียบข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง พยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดเพื่อนำมาเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักดูข้อเท็จจริงว่ามีความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
3. อย่าเพิ่งรีบแชร์ ควรเช็กให้ชัวร์ในทุก ๆ ข้อมูลที่เจอว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ การแชร์ในสิ่งที่ผิด มักส่งผลเสียตามมาเสมอ
4. เลือกเข้าชมเฉพาะสื่อที่น่าเชื่อถือเท่านั้น โดยเฉพาะสื่อในโลกออนไลน์มีที่ให้เลือกเสพมากมาย ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อนว่าสื่อดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหนก่อนต้องสินใจเข้าไปอ่านหรือรับชม
5. หากสงสัยให้สอบถามจากแหล่งที่ถูกอ้างถึง เช่น หากมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นประกันสังคม ให้โทรไปสอบถามประกันสังคมด้วยตนเองพร้อมถามถึงสิ่งที่มิจฉาชีพนำเสนอมาว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่
6. ปรึกษาลูก – หลานก่อนจะเชื่อ หากสงสัยในกลอุบายหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกส่งมา วิธีที่ง่ายที่สุดคือการปรึกษาคนใกล้ตัว โดยเฉพาะลูกหลานของตนเอง จะได้ช่วยกันหาข้อมูลว่าสิ่งที่กำลังเจออยู่เป็นเรื่องจริงหรือไม่
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงได้ออกมาเตือนให้ลูกหลานคอยเฝ้าระวังผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ในบ้านอยู่เสมอ หมั่นดูแลและให้ความรู้ในเรื่องใหม่ ๆ ที่ผู้สูงวัยไม่ถนัด หากพบปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพออนไลน์สามารถติดต่อมาได้ที่ ศูนย์ AOC โทร 1441 โดยสามารถปรึกษา แจ้งเบาะแส หรือให้ช่วยแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง
เช็กชื่อ! กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ยุค “พิธา-ชัยธวัช”
ไฟไหม้ตลาดสี่มุมเมือง “เด็ก 4 ขวบพร้อมน้า” สำลักควันเสียชีวิต บาดเจ็บอีก 1 คำพูดจาก สล็อตวอเลท
เปิดโปรแกรม 10 นัดสุดท้าย อาร์เซน่อล ลิเวอร์พูล และ แมนซิตี้ ลุ้นแชมป์พรีเมียร์ลีก