รมช.คลัง สั่งออมสิน ตั้งเอเอ็มซี แก้เอ็นพีแอลแบงก์รัฐ ช่วยลดหนี้ครัวเรือน
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งให้สถาบันการเงินของรัฐ (เอสเอฟไอ) ช่วยเหลือลูกหนี้แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน หลังจากยอดหนี้ครัวเรือนล่าสุด ไตรมาส 2 ของปี 66 พุ่งสูงถึง 90.7% โดยแนวทางในการแก้หนีเสีย จะนำร่องให้สถาบันการเงินของรัฐมีการรวมหนี้ไว้ที่แบงก์รัฐใดแบงก์รัฐหนึ่ง เช่น ให้ออมสินเป็นแกนกลางในการแก้ไข ส่วนการแก้หนี้ดีจะให้แต่ละแบงก์รัฐ ไปลดดอกเบี้ย เพื่อให้ลูกหนี้ตัดเงินต้นมากขึ้น จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง ซึ่งจะทำ ให้หนี้หมดไวกว่าเดิมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ ยกตัวอย่าง ให้ออมสินเป็นผู้รวมหนี้ ทำงานลักษณะแบบบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ซึ่งจะให้สถาบันการเงินของรัฐอื่นโอนหนี้เสียมาให้ออมสินบริหาร และทางออมสินเป็นผู้ออกตั๋วแลกเงินให้กับธนาคารนั้น จากนั้นเมื่อออมสินบริหารแก้หนี้ได้แล้ว จำนวนเท่าใด ก็จะนำไปหักกับตั๋วเงิน และนำวงเงินที่แก้หนี้คืนให้กับแบงก์นั้นๆ โดยออมสินจะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมในการบริหารใดๆ
สำหรับแนวทางบริหารจัดการหนี้เช่นนี้ เคยทำมาแล้วสมัยวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 40-44 ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปชดเชยงบประมาณอะไร เนื่องจากสามารถใช้หลักการของเอเอ็มซี บริหารจัดการได้เลย โดยขณะนี้ทางออมสินไปพิจารณารายละเอียดแนวทางการดำเนินการ และจะกลับมาหารือร่วมกันอีกครั้ง ขณะเดียวกันทางออมสินก็อยู่ระหว่างการนำร่องในการแก้ไขหนี้เสียของตัวเองก่อนด้วย
นายกฤษฎา ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน ฟิส แอนด์ ฟิน ฟอรัม โดยระบุว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มการฟื้นตัว แต่ยังคงเผชิญกับความอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่ประสบปัญหาทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอความเข้มงวดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่างๆ ที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ เผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งหากขาดการวางแผนที่ดีอาจกลายเป็นปัญหาด้านการเงินของครัวเรือนไทยได้ในอนาคต
เพราะแม้ภาครัฐได้พยายามสร้างกลไกการออมเพื่อการเกษียณ แต่ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในช่วงบั้นปลาย อีกทั้ง รูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่มีความเป็นบริโภคนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่ระมัดระวัง ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หลายครัวเรือนมีปัญหารายรับไม่พอรายจ่ายและขาดวินัยการออม ทำให้มีความเปราะบางทางการเงินสูง
ดังนั้น กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 65-70 เพื่อพัฒนาทักษะทางการเงินให้กับประชาชน โดยจะครอบคลุมประชาชนไทยทุกช่วงวัย ระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ กลุ่มผู้มีความเปราะบางทางการเงินสูง ผู้พิการ ประชาชนระดับฐานราก เยาวชน ผู้สูงวัย ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินและความเป็นอยู่ที่ดีทางการเงินให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน”
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง